วิสัยทัศน์
โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานสากล
พันธกิจ
- พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสาขาวิชาชีพตามศักยภาพของผู้เรียน โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาศักยภาพและจรรยาบรรณวิชาชีพครูสู่การการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนา
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารองรับกลุ่มศักยภาพผู้เรียนเป็นพลโลกแห่งศตวรรษที่ 21
- พัฒนา ส่งเสริมระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
- พัฒนา สนับสนุนสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและระบบเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
- ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ ภาคประชาชนและรัฐมีส่วนร่วม และสนับสนุนการจัดบริการทางการศึกษาสู่คุณภาพผู้เรียน
เป้าประสงค์
- ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการวิเคราะห์เรียนรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี มีศักยภาพเป็นพลโลก และมีคุณลักษณะนิสัยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกแห่งศตวรรษที่ 21
- ครูมีศักยภาพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดกระบวนการเรียนรู้
- โรงเรียนมีแผนการเรียนตามกลุ่มศักยภาพ และระบบการวางเส้นทางการศึกษาต่อ เส้นทางการประกอบอาชีพ และทักษะชีวิต
- โรงเรียนมีสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกลุ่มเป้าหมายศักยภาพของผู้เรียน
- โรงเรียนมีผลการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการจัดการด้วยระบบคุณภาพ
- หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนให้การสนับสนุนการจัดบริการทางการศึกษา ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก หลักสูตรสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้
กลยุทธ์
- พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลกแห่งศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาครูให้มีศักยภาพและจรรยาบรรณทางวิชาชีพครูสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อรองรับกลุ่มศักยภาพของผู้เรียน
- พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี ระบบการเข้าถึงความรู้
- พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ
- ส่งเสริมพัฒนาระบบภาคีเครือข่าย
คำนิยม
S.K.W. มีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้ สู่สากล
S = Spirit มีน้ำใจ
K = Knowledge ใฝ่เรียนรู้
W = World สู่สากล
อัตลักษณ์โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
รู้โลก หมายถึง นักเรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทางด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคม
สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
รู้วิธีคิด หมายถึง นักเรียนสามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ
รู้ชีวิต หมายถึง รู้วิธีที่จะใช้ชีวิตในสถานการณ์ต่างๆ ได้แก่ ในครอบครัวในโรงเรียน และนอกโรงเรียน
รู้ตัวตน หมายถึง นักเรียนรู้จักตนเองทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา